เริ่มต้นกับภาษา PHPสำหรับบทนี้นะครับ จะเป็นบทเริ่มต้นกับภาษา PHP ซึ่งผู้ที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ในบทนี้ จำเป็นต้องมีความรู้การใช้ภาษา HTML + Dreamweaver เล็กน้อยมาบ้างนะครับ เพื่อความเข้าใจของตัวท่านเอง หากท่านยังไ่ม่มีความรู้ในภาษา HTML และ โปรแกรม Dreamweaver ลองถามอากู๋ก่อนนะครับ (อากู๋ = google) ใบบทเีรียนนี้จะใช้โปรแกรม Dreamweaver CS3 เป็นเครื่องมือในการเขียนภาษา PHP เพื่อยกตัวอย่างนะครับ เพราะฉนั้น ให้ท่านผู้ที่สนใจติดตั้งโปรแกรม DreamWeaver CS3 ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านก่อนครับ1.วิธีใช้ภาษา PHP แทรกใน HTML เรามาทำความรู้จักกับ สัญลักษณ์ <?php ....... ?>เมื่อท่านต้องการใช้ ภาษา PHP ท่านจำเป็นต้องประกาศการเริ่มต้นใช้ และ สิ้นสุด เพาะมันเป็นมาตรฐาน ข้อกำหนดไว้ ให้เราทำตามครับ ยกตัวอย่างง่ายๆเลยนะครับ <?php // เปิดการใช้ PHP //PHP script ?> <!-- ปิด --> ตัวอย่างการเปิดและปิดการทำงานของ PHP
<? // เปิดการใช้ PHP //PHP script ?> <!-- ปิด --> ตัวอย่างการเปิดและปิดการทำงานของ PHP อีกแบบ
2.Hello PHP ไม่รู้ว่าทำไมต้อง hello แต่ผมเคยเรียนเขียนโปรแกรมมาก็เริ่มต้นแบบนี้ละครับ ไม่ว่าจะเป็น C , Pascal เพื่อให้เรารู้วิธีเปิดเครื่องมือ และ แสดงผลของการทำงานภาษาที่เรากำลังศึกษาอยู่ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ Hello PHP อันดับแรกที่ท่านต้องทำความเ้ข้าใจหลังจากลง Appserv เสร็จ ท่านต้องสร้าง โฟเดอร์เพื่อเก็บไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ ไฟล์ flash และ PHP script ของเราครับ โดยตัวอย่าง การติดตั้ง PHP+Mysql ได้บอกกับท่านไว้แล้วนะครับ ช่วงท้ายๆ ว่าตัวอย่างนี้จะใ้ช้ D:\Appserv\www เป็นที่เก็บไฟล์ต่างๆของเว็บที่เราจะทำครับ หากบางท่านลงไว้ที่อื่น ก็ต้องเก็บไฟล์ต่างๆไว้ตามที่ท่านได้กำหนดตอนลงโปรแกรมนะครับ 2.1 สร้างโฟเดอร์ lesson1 ไว้ที่ D:\AppServ\www ครับ
3.ทำความเข้าใจกับ PHP เบื้องต้น
รูปที่ 1 ตัวอย่างการสร้างโฟเดอ lesson1 ไว้ที่ D:\AppServ\www 2.2 เปิด DreamWeaver CS3 แล้วเลือก ไฟล์นามสกุล PHP ครับ ![]() รูปที่ 2 ตัวอย่างการสร้างเอกสาร PHP ด้วยโปรแกรม DreamWeaver
2.3 คลิกที่มุมมอง code ในโปรแกรม DreamWeaver แล้วพิมพ์ code PHP ตามตัวอย่างด่านล่างครับ <? echo"Hello PHP"; ?> ตัวอย่าง code Hello PHP
รูปที่ 3 ตัวอย่างการแทรก code PHP 2.4 บันทึกไฟล์ไว้ที่โฟเดอ D:\Appserv\www\lesson1 ชื่อ hello_php.php ครับ ![]() รูปที่ 4 แสดงการบันทึกไฟล์
![]() รูปที่ 5 แสดงการบันทึกไฟล์เสร็จแล้ว 2.5 รัน script โดยเปิด Browser แล้ว พิพม์ localhost/lesson1/hello_php.php ในช่อง Address bar แล้วกด Enter เพื่อแสดงผล หากท่านใดไม่แสดง คำว่า Hello PHP แสดงว่า มีอะไรผิดพลาดซักอย่างนะครับ ให้ลองไล่ๆดูตามขั้นตอนที่ผ่านมานะครับว่าขาดตรงไหนบ้างหรือเปล่า รูปที่ 6 แสดงผล Hello PHP
<?
echo"Hello PHP"; ?> จากตัวอย่างข้างบนนะครับ เราจะเห็นคำสั่ง echo"Hello PHP"; ที่เป็นคำสั่งแสดงผลข้อความ หรือตัวแปรที่เรากำหนด ทำหน้าที่เหมือนกับ print ครับ และหากท่านต้องการแสดงคำอื่นที่นอกเหนือจาก Hello PHP ก็สามารถเปลี่ยนได้ เช่น echo "Hello Window XP"; อย่างนี้เป็นต้นนะครับ แล้วอย่าลืมใช้ ; เพื่อเป็นการสิ้นสุดคำสั่งของแต่ละบรรทัดด้วยนะครับ แล้วก็อย่าลืมลอง echo หลายๆบรรทัดเพื่อทำความเข้าใจในการทำงาน และฝึกการใช้เครื่องมือในการเปิด และบันทึก เพื่อให้เกิดความเคยชิน จะได้ไม่ลืมครับ <?
echo"Hello PHP"; echo"Hello Window XP"; echo"Hello Window Vista"; echo"Hello Window 7"; ?> วิธีติดตั้ง PHP+Mysql | เริ่มต้นกับภาษา PHP | การคำนวณค่าและแสดงผล | การใช้เงื่อนไข if(){}else{} | Loop while(){} for i | การใช้ Array ใน PHP | วิธีสร้างฐานข้อมูล Mysql | phpMyAdmin เพิ่ม ลบ แก้ไข Mysql | ส่งออก - นำเข้า ฐานข้อมูล Mysql ด้วย phpMyAdmin | เชื่อมต่อฐานข้อมูล Mysql | วิธีแสดงผลข้อมูล Mysql | การเพิ่มข้อมูลลงในฐานข้อมูล Mysql ด้วย PHP | วิธีลบข้อมูล Mysql ด้วย PHP | วิธีแก้ไขข้อมูล Mysql ด้วย PHP | ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล Mysql ด้วย PHP | บทความโดย : Admin 2009-03-19 22:21:47 (21480) แหล่งที่มา : Admin |
||