การคำนวณค่าและแสดงผล การคำนวณในบทนี้จะเป็นตัวอย่างและวิธีการตั้งค่าอย่างง่ายๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจนะครับ เช่น การ บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรมย่อยในเว็บของเรานั้น เราคงหนีไม่พ้นการคำนวณค่าต่างๆ เช่น น้ำหนักรวม เงินรวม จำนวนวัน อายุเฉลี่ย คำนวณเปอเซ็น หรือการคำนวณทางคณิตร์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งในการคำนวณค่าด้วย PHP ก็ไม่ต้องมีหลักการในการกำหนดอะไรมากหมายเหมือนภาษาอื่นๆ เช่น $a = 1; $b = 2; $c = 0; $y = "Yes"; $n = "No"; เท่านี้ก็เป็นการกำหนดตัวแปร และ ค่าของตัวแปรแล้ว ภาษา PHP จะใช้ "$" เป็นตัวกำหนดตัวแปรต่างๆได้เลยนะครับ โดย ตัวแปรจะแบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆที่สำคัญ ก็คือ Numberic(ตัวเลข) กับ String(ตัวอักขระ ตัวอักษร) การกำหนดตัวแปรที่เป็นตัวเลขเช่น $a = 1; $b = 1; ถ้าเป็นตัวอักษร ก็จะใช้ $y = "Yes"; $n = "No"; ครับ ต่อมา รู้จักกับ Operator ใน PHP Operator ก็คือ ตัวดำเนินการกับตัวแปรอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
เอาละครับ ต่อไปจะเป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรม คำนวณค่า 2 ค่า โดยใช้ Dreamweaver CS3 นะครับ เริ่มต้นกับการเปิดโปรแกรม Dreamweaver Cs3 ขึ้นมากันเลยครับ
จาก รูปที่ 1 ตัวอย่างแสดงการสร้าง form บรรทัดที่ 9
คือการกำหนด form ชื่อ "form1" กำหนด action ไปที่ไฟล์ test.php
จาก รูปที่ 1 ตัวอย่างแสดงการสร้าง form บรรทัดที่ 11 คือการสร้าง textbox เพื่อรับค่าจาก keyboard เก็บไว้ในตัวแปร "A"
จาก รูปที่ 1 ตัวอย่างแสดงการสร้าง form บรรทัดที่ 13 คือการสร้าง textbox เพื่อรับค่าจาก keyboard เก็บไว้ในตัวแปร "B"
จาก รูปที่ 1 ตัวอย่างแสดงการสร้าง form บรรทัดที่ 14 คือการสร้างปุ่ม submit เพื่อส่งค่าตามกำหนดในบรรทัดที่ 9
จาก รูปที่ 1 ตัวอย่างแสดงการสร้าง form บรรทัดที่ 17คือการกำหนดจุดสิ้นสุดของ form1 ที่กำหนดในบรรทัดที่ 9
เมื่อสร้าง form เพื่อกรอกค่าเสร็จขั้นต่อไปคือการรับข้อมูลจาก form1 มาคำนวณโดยใช้ PHP ตัวอย่างดังรูป ที่ 2 รูปที่ 2 ตัวอย่างแสดงการคำนวณค่าจากตัวแปร A และ B <?
$A = $_POST['A']; $B = $_POST['B']; if($A != "" and $B != "") { $Positive = $A + $B; $minus = $A - $B; $multiply = $A * $B; $divide = $A / $B; $mod = $A%$B; echo"A + B = $Positive<br />"; echo"A - B = $minus<br />"; echo"A * B = $multiply<br />"; echo"A / B = $divide<br />"; echo"A % B = $mod<br />"; } ?>
เมื่อทำการขั้นตอนเรียบร้อยแล้วก็ลอง กรอก ข้อมูล A และ B แล้วกดปุ่ม "คำนวณค่า A B"
จากรูปที่ 2 ตัวอย่างแสดงการคำนวณค่าจากตัวแปร A และ B
บรรทัดที่ 8 และ 25 คือ การเปิด และ ปิดการใช้คำสั่งของภาษา PHP บรรทัดที่ 9 และ 10 คือการตั้งตัวแปร $A และ ตัวแปร $B เพื่อรับค่าที่ส่งมาจาก form1 ซึ่งถูกกำหนดให้มี 2 ค่า คือ A และ B บรรทัดที่ 11 คือการสร้างเงื่อนไขตรวจสอบค่า A และ B if($A != "" and $B != "") มีความหมายตามเงื่อนไขว่า ถ้าตัวแปร A ไม่เท่ากับ ค่าว่าง และ ถ้าตัวแปร B ไม่เท่ากับ ค่าว่าง บรรทัดที่ 12 และ 23 คือขอบเขตของเหตุการณ์ตามเงื่อนไขของบรรทัดที่ 11 บรรทัดที่ 13 $Positive = $A + $B; คือการสร้างตัวแปรที่มีชื่อว่า $Positive และกำหนดให้มีค่าเท่ากับ $A + $B ดังตัวอย่างรูปที่ 3 เมื่อ กำหนดให้ A มีค่าเท่ากับ 10 และ B มีค่าเท่ากับ 7 ดังนั้น ค่า $Positive จะมีค่าเท่ากับ 17 ครับ บรรทัดที่ 14 $minus = $A - $B; ความหมายเหมือนกับการอธิบายในบรรทัดที่ 13 เพียงแต่ นำแค่า A มาลบกับ B และเก็บค่าไว้ให้ตัวแปร $minus บรรทัดที่ 15 $multiply = $A * $B; ความหมายเหมือนกับการอธิบายในบรรทัดที่ 13 เพียงแต่ นำแค่า A มาคูณกับ B และเก็บค่าไว้ให้ตัวแปร $multiply บรรทัดที่ 16 $divide = $A / $B; ความหมายเหมือนกับการอธิบายในบรรทัดที่ 13 เพียงแต่ นำแค่า A มาหารกับ B และเก็บค่าไว้ให้ตัวแปร $divide บรรทัดที่ 17 $mod = $A%$B; ความหมายเหมือนกับการอธิบายในบรรทัดที่ 13 เพียงแต่ นำแค่า A มาหารเอาแต่เศษกับ B และเก็บค่าไว้ให้ตัวแปร $mod วิธีติดตั้ง PHP+Mysql | เริ่มต้นกับภาษา PHP | การคำนวณค่าและแสดงผล | การใช้เงื่อนไข if(){}else{} | Loop while(){} for i | การใช้ Array ใน PHP | วิธีสร้างฐานข้อมูล Mysql | phpMyAdmin เพิ่ม ลบ แก้ไข Mysql | ส่งออก - นำเข้า ฐานข้อมูล Mysql ด้วย phpMyAdmin | เชื่อมต่อฐานข้อมูล Mysql | วิธีแสดงผลข้อมูล Mysql | การเพิ่มข้อมูลลงในฐานข้อมูล Mysql ด้วย PHP | วิธีลบข้อมูล Mysql ด้วย PHP | วิธีแก้ไขข้อมูล Mysql ด้วย PHP | ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล Mysql ด้วย PHP | บทความโดย : 2009-06-11 00:00:00 (45954) แหล่งที่มา : Admin |
||